ผมร่วง ผมบาง หัวล้าน อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรค
สัญญาณของโรคร้ายมีมาเตือนร่างกายของเราอยู่บ่อย ๆ แต่บางคนถึงแม้ว่าร่างกายจะเกิดความปกติขึ้น แต่ก็ชะล่าใจ คิดว่าไม่ได้เป็นอะไรมาก อีกสักพักก็คงดีขึ้นเอง ซึ่งนั่นหากคุณคิดถูกว่าร่างกายไม่ได้เป็นอะไรก็โชคดีไป แต่หากเมื่อไหร่ที่คุณคิดผิดแล้วล่ะก็ ถึงเวลามันอาจจะสายเกินแก้แล้วก็ได้…
ผมร่วง แม้ว่าจะเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกวัน แต่ทว่าในความเป็นจริงเส้นผมของคนเราควรร่วงไม่เกินวันละ 30 – 50 เส้น แต่หากร่วงมากกว่านี้อาจเป็นสัญญาณว่าร่างกายของคุณเริ่มเกิดความผิดปกติ จนทำให้เส้นผมอ่อนแอนเกินไป และบางครั้งอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายที่คุณเองก็คาดไม่ถึง
ประเภทของผมร่วง คืออะไร?
ผมร่วงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้แบบที่เราไม่รู้ตัว โดยการสังเกตผมร่วงที่มากเกินไปนั้น นอกจากจะสังเกตได้ปริมาณของเส้นผมที่หลุดร่วงแล้ว ยังสามารถสังเกตได้ง่าย ๆ คือเส้นผมบนหนังศีรษะเริ่มบางลง หรือเกิดการร่วงเป็นหย่อม ๆ และอาจร่วงทั้งหมด (หัวล้าน) ได้เช่นกัน ส่วนใหญ่ผมร่วงที่เกิดในผู้ชายมักมีปัญหามาจากกรรมพันธุ์หัวล้าน ที่เกิดขึ้นได้ทั้งตรงหน้าผาก กลางศีรษะ ข้างหู หรือด้านหน้าของศีรษะ ส่วนผู้หญิงมักจะเกิดอาการแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่จะไม่ถึงขั้นหัวล้าน สำหรับการแบ่งประเภทของอาการผมร่วง ดังนี้
- ผมร่วงประเภทเซลล์รากผมถูกทำลาย (Scarring) หรืออาการผมร่วงแบบถาวร ถือเป็นลักษณะที่พบได้บ่อยที่สุดของอาการผมร่วง มักเกี่ยวข้องกับโรคที่เกี่ยวกับผิวหนัง และเชื้อราที่หนังศีรษะ
- ผมร่วงประเภทเซลล์รากผมยังไม่ถูกทำลาย (Non Scarring) มักเกิดอาการผมร่วงเป็นหย่อมวงกลม หรือวงรี (Alopecia areata) ซึ่งผมร่วงประเภทนี้เกิดมาจากกระบวนการภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ทำลายเซลล์รากผมของตัวเอง แต่ข้อดีคือสามารถรักษาให้หายได้ เนื่องจากเซลล์รากผมยังไม่ถูกทำลายจนหมด แต่หากปล่อยทิ้งไว้ ไม่เข้ารับการรักษา ก็อาจพัฒนาไปสู่แบบ scarring หรือ ผมร่วงประเภทเซลล์รากผมถูกทำลาย ได้เช่นกัน

ผมร่วงหนักมาก สัญญาณเตือนโรคอะไร?
หากคุณไม่ได้มีพฤติกรรมทำร้ายเส้นผม เช่น ความร้อน ทำสี ดัดผม ฯลฯ มีกรรมพันธุ์หัวล้าน หรือความเครียด แต่ผมกลับร่วงหนักมากแบบไม่มีสาเหตุ ทั้งยังมีอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ ร่วมด้วย แนะนำว่าจำเป็นต้องเข้ารับการวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในโรงพยาบาล เพื่อให้แพทย์ได้ค้นหาสาเหตุของอาการผมร่วงอย่างแท้จริง เพราะไม่อย่างนั้นหากปล่อยเอาไว้ คุณอาจป่วยด้วยโรค ดังนี้
- โรค Lupus หรือโรค SLE เป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเองอีกประเภทหนึ่ง อาการแรกเริ่มคือจะมีอาการผมร่วงทั่วทั้งศีรษะอาจเกิดแผลเป็นร่วมด้วย
- โรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคซิฟิลิส โรคตับ โรคไต ฯลฯ
- โรคโลหิตจาง เนื่องจากร่างกายอาจขาดธาตุเหล็ก จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ผมร่วงได้
- โรคภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง สำหรับโรคนี้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะเข้าใจผิด คิดว่าเซลล์รากผมเป็นสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย จนทำให้เส้นผมเกิดความอ่อนแอและหลุดร่วงได้นั่นเอง
- ภาวะการมีถุงน้ำในรังไข่หลายใบ Polycystic ovary syndrome เป็นความผิดปกติของระบบท่อมไร้ท่อ มักพบในสตรีวัยเจริญพันธุ์ ที่นอกจากจะทำให้มีบุตรยากและผิวหน้ามันแล้ว อาจมีภาวะผมบางจากแอนโดรเจนร่วมด้วย
- โรคไทรอยด์ ซึ่งโรคนี้ร่างกายจะขับไขมันออกมาทางผิวหนัง ทำให้หนังศีรษะมัน รากผมอ่อนแอ เป็นสาเหตุทำให้ผมร่วงได้ง่าย
สำหรับวิธีการป้องกันไม่ให้ตัวเองผมร่วงมีอยู่มากมาย (ไม่นับสาเหตุจากอาการป่วยด้วยโรค) ทั้งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่ทำร้ายเส้นผม ไม่หวีผมแรง ๆ เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์บำรุงเส้นผม พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด ไม่กดดันตัวเอง หรือหากใครที่มีปัญหาผมร่วงแบบหนัก ๆ จนทำให้หมดความมั่นใจและเสียบุคลิกภาพ ปัจจุบันก็มีอีกนวัตกรรมที่เรียกว่าการปลูกผม ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาของคุณได้อย่างตรงจุด คุ้มค่า และให้ผลลัพธ์ตามต้องการอีกด้วย