‘ความอ้วน’ ไม่ได้ทำลายแค่บุคลิกภาพและความมั่นใจเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวการสำคัญที่เป็นช่องโหว่ให้โรคร้ายเดินทางเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้นด้วย นั่นเลยทำให้หลายคนตั้งคำถามว่าการที่เป็นคนอ้วน น้ำหนักเกินเกณฑ์ หรือเป็นโรคอ้วนมีความเสี่ยงต่อโควิด-19 เป็นความจริงหรือไม่? หากสงสัยวันนี้มีคำตอบมาฝาก ภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์ คืออะไร? สำหรับคำว่า ‘ภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์’ เป็นภาวะที่น้ำหนักตัวเกินกว่าค่ากำหนด เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับความสูง (อ้างอิง ประชาชาติธุรกิจ) โดยใช้หลักการคำนวณที่เรียกว่าดัชนีมวลกาย (Body mass index ; BMI) เป็นการเอาน้ำหนักปัจจุบันที่มีหน่วยเป็นกิโลกรัม หารกับความสูงที่มีหน่วยเป็นเมตร จากนั้นยกกำลังสอง หากค่าสรุปออกมา BMI ตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไปจึงจะถือว่าเป็นภาวะน้ำหนักเกิน (obesity) ภาวะน้ำหนักเกินกับความเสี่ยงโควิด-19 สำหรับคนที่มีภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์กับความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 เรื่องนี้เป็นความจริง! ประเด็นนี้อ้างอิงมาจาก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งความอ้วนเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 ที่รุนแรงได้ และอาจทำให้อัตราการนอนโรงพยาบาลมากขึ้นถึง 3 เท่า สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะร่างกายมีระดับภูมิคุ้มกันที่ลดลงหรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ แถมความอ้วนยังเป็นตัวการที่ลดความจุของปอด ส่งผลให้การหายใจเข้าออกมีประสิทธิภาพลดลง นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบว่าค่า BMI ที่เพิ่มขึ้น ยังส่งผลทำให้อัตราการเสียชีวิต การใส่ท่อช่วยหายใจ การนอนโรงพยาบาลจากอาการป่วยโควิด-19Continue Reading

ไข้หวัดใหญ่อย่าชะล่าใจ บางทีอาจมีโรคแทรกซ้อนร่วมด้วย ในตอนนี้แม้ว่าโรคติดเชื้อที่ดูน่าเป็นกังวลมากที่สุด คือสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่ถึงอย่างไรโรคไข้หวัดอื่น ๆ เราก็ไม่ควรมองข้ามเหมือนกัน เพราะความรุนแรงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพร่างกาย ก็มีผลเสียที่ร้ายแรงไม่แพ้กันเลย ซึ่งหนึ่งในโรคติดเชื้อที่เกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปีทั่วโลก ผ่านการแพร่กระจายจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งที่นอกเหนือจากโควิด-19 นั่นคือ ‘ไข้หวัดใหญ่’ ที่หากไม่สังเกตอาการดี ๆ หลายคนก็มักเข้าใจผิดว่านี่เป็นอาการของไข้หวัดธรรมดา เพียงแค่กินยาและนอนพักผ่อนก็คงหายดีแล้ว แต่ทว่าไข้หวัดใหญ่กลับไม่เป็นเช่นนั้น เพราะไข้หวัดใหญ่จะมีวิธีการรักษาและความรุนแรงของโรคที่ต่างจากไข้หวัดธรรมดาให้เห็นอยู่ ไข้หวัดใหญ่ พบได้ในคนวัยไหนมากที่สุด? สำหรับไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคติดต่อที่สามารถแพร่กระจายจากบุคคลหนึ่งไปยังคนหนึ่งได้ สามารถพบได้ในคนทุกอายุ แต่ส่วนใหญ่มักพบในเด็ก แต่อัตราการเสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่จะอยู่ในกลุ่มป่วยที่มีอายุมากกว่า 65 ปี หรือกลุ่มคนที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคไต เป็นต้น สำหรับแนวทางการป้องกันไข้หวัดใหญ่ที่ดีที่สุด นั่นคือการฉีดวัคซีนป้องกัน ที่พบว่าสามารถลดอัตราการติดเชื้อ ลดอัตราการนอนโรงพยาบาล และลดอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนได้ ซึ่งโรคแทรกซ้อนอาจเกิดขึ้นกับกลุ่มคนที่ป่วยไข้หวัดใหญ่ จะมีทั้ง ปอดอักเสบ และอาจทำให้อาการของโรคประจำตัวที่มีอยู่รุนแรงมากกว่าเดิม เช่น หัวล้มเหลว เบาหวาน โดยในประเทศไทยจะพบว่ามีผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ทั่วประเทศ มากถึงปีละ 700,000 –Continue Reading

เพราะอะไรคนท้อง(เกือบ)ทุกคน ถึงเป็นภาวะริดสีดวงทวาร? คนท้องต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการพยุงร่างตัวเองและร่างลูกน้อยในท้อง ให้เคลื่อนที่ไปด้วยกันด้วยความปลอดภัย ไม่เพียงเท่านั้นคนท้องยังต้องคอยรับศึกหนักมากมาย ทั้งอาการแพ้ท้อง ผลข้างเคียง รอยแตกลาย อาหารบางอย่างที่ทานไม่ได้ และอีกหนึ่งสิ่งกวนใจที่คุณแม่ทั้งหลายไม่อยากให้เกิดขึ้น นั่นคือ ‘ริดสีดวงทวาร’ และถึงแม้ว่าริดสีดวงทวารจะไม่ได้เกิดขึ้นกับคนท้องทุกคน แต่ก็น่าเห็นใจอยู่ไม่น้อยถ้าหากคุณแม่คนไหนต้องเผชิญหน้ากับภาวะนี้ เพราะลำพังเพียงแค่การอุ้มที่ใหญ่ขึ้น ๆ ทุกวันก็อึดอัดมากพออยู่แล้ว ยังต้องมารู้สึกอึดอัดตรงก้นอีก จะเบ่งถ่ายก็ทำได้ยาก แถมบางครั้งยังรู้สึกปวดร้าวมาจนถึงหน้าท้องอีก เพราะงั้นวันนี้เรามาดูกันว่าเพราะอะไร คนท้องกับริดสีดวง ทำไมต้องมาคู่กันเสมอ ริดสีดวงทวาร คืออะไร? ริดสีดวงทวาร (Hemorrhoid) เป็นอาการที่เกิดการบวมโป่งพองอักเสบของเส้นเลือดบริเวณทวารหนัก ที่ไม่สามารถขมิบให้ยุบกลับลงไปได้ จึงทำให้มีอาการปวด เมื่อต้องมีการขับอุจจาระผ่านก่อนก็จะเกิดการเสียดสีและทำให้เกิดการขับถ่ายเป็นเลือดตามมา ในส่วนของคุณแม่ตั้งครรภ์จะพบได้บ่อยมาก ที่ถึงแม้ว่าภาวะริดสีดวงจะไม่เป็นอันตรายใด ๆ กับการตั้งครรภ์ และไม่มีผลกับทารกในครรภ์ แต่มันก็สร้างความรำคานใจ คันรอบทวารหนัก และสร้างความเจ็บปวดให้กับคุณแม่ได้นั่นเอง ส่วนสาเหตุที่ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์เป็นภาวะริดสีดวง มีดังนี้ มดลูกเกิดการขยายที่ใหญ่ขึ้น ส่งผลทำให้ไปกดหลอดเลือดดำในช่องท้อง ทำให้หลอดเลือดดำที่อยู่ส่วนปลาย เช่น บริเวณเท้า ขา และก้น มีการไหลเวียนเข้าสู่หัวใจได้ยากขึ้น เลยเป็นเหตุผลที่ทำให้เกิดการคั่งของเลือดในบริเวณเหล่านั้นได้Continue Reading

ปัสสาวะอักเสบไม่ใช่เรื่องล้อเล่น ต้องรีบพบแพทย์ด่วน ปัจจุบันมีโรคภัยต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย ทั้งโรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อ และโรคทางพันธุกรรม ซึ่งไม่ว่าจะเป็นโรคประเภทไหนทุกคนก็ไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตัวเองและครอบครัวเป็นแน่ เพราะการมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงต้องเป็นความปรารถนาของทุกคน แต่ถึงอย่างไรโรคบางอย่างเราก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้พ้น ถึงแม้จะดูแลสุขภาพร่างกายของตัวเองมาเป็นอย่างดี แต่เมื่อถึงคราวทำอะไรพลาดสักนิด กลับกลายมาเป็นโรคร้ายที่ทำให้ร่างกายของเราอ่อนแอลง โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis) เป็นอีกโรคที่หลายคนละเลยและมองข้าม คิดว่าเป็นอาการธรรมดาที่ไม่ได้ส่งผลอะไรมากนัก แต่ทว่าโรคนี้ถือเป็นการติดเชื้อแบคทีเรียประเภทหนึ่ง ที่ส่งผลต่อวัยวะเพศและระบบทางเดินปัสสาวะโดยตรง ที่สำคัญยังสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การกลั้นปัสสาวะ และการทำความสะอาดทวารหนักก่อนทำความสะอาดอวัยวะเพศ เป็นต้น อาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ การที่คนเราจะป่วยเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบนั้น ส่วนใหญ่เกิดขึ้นมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ โดยแบคทีเรียดังกล่าวจะมี เอสเชอริเชีย โคไล หรือ อีโคไล (Escherichia coli : E. coli), เคล็บซิลลา (Klebsiella), สูโดโมแนส (Pseudomonas) และเอนเทอโรแบกเตอร์ (Enterobacter) ซึ่งแบคทีเรียทั้งหมดนี้จะเป็นแบคทีเรีย ที่มีอยู่บริเวณรอบ ๆ ทวารหนัก สามารถเข้าสู่ร่างกายได้จากหลายพฤติกรรม เช่นContinue Reading

ผมร่วง ผมบาง หัวล้าน อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรค สัญญาณของโรคร้ายมีมาเตือนร่างกายของเราอยู่บ่อย ๆ แต่บางคนถึงแม้ว่าร่างกายจะเกิดความปกติขึ้น แต่ก็ชะล่าใจ คิดว่าไม่ได้เป็นอะไรมาก อีกสักพักก็คงดีขึ้นเอง ซึ่งนั่นหากคุณคิดถูกว่าร่างกายไม่ได้เป็นอะไรก็โชคดีไป แต่หากเมื่อไหร่ที่คุณคิดผิดแล้วล่ะก็ ถึงเวลามันอาจจะสายเกินแก้แล้วก็ได้… ผมร่วง แม้ว่าจะเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกวัน แต่ทว่าในความเป็นจริงเส้นผมของคนเราควรร่วงไม่เกินวันละ 30 – 50 เส้น แต่หากร่วงมากกว่านี้อาจเป็นสัญญาณว่าร่างกายของคุณเริ่มเกิดความผิดปกติ จนทำให้เส้นผมอ่อนแอนเกินไป และบางครั้งอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายที่คุณเองก็คาดไม่ถึง ประเภทของผมร่วง คืออะไร? ผมร่วงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้แบบที่เราไม่รู้ตัว โดยการสังเกตผมร่วงที่มากเกินไปนั้น นอกจากจะสังเกตได้ปริมาณของเส้นผมที่หลุดร่วงแล้ว ยังสามารถสังเกตได้ง่าย ๆ คือเส้นผมบนหนังศีรษะเริ่มบางลง หรือเกิดการร่วงเป็นหย่อม ๆ และอาจร่วงทั้งหมด (หัวล้าน) ได้เช่นกัน ส่วนใหญ่ผมร่วงที่เกิดในผู้ชายมักมีปัญหามาจากกรรมพันธุ์หัวล้าน ที่เกิดขึ้นได้ทั้งตรงหน้าผาก กลางศีรษะ ข้างหู หรือด้านหน้าของศีรษะ ส่วนผู้หญิงมักจะเกิดอาการแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่จะไม่ถึงขั้นหัวล้าน สำหรับการแบ่งประเภทของอาการผมร่วง ดังนี้ ผมร่วงประเภทเซลล์รากผมถูกทำลาย (Scarring) หรืออาการผมร่วงแบบถาวร ถือเป็นลักษณะที่พบได้บ่อยที่สุดของอาการผมร่วง มักเกี่ยวข้องกับโรคที่เกี่ยวกับผิวหนังContinue Reading

อาการใหม่ล่าสุดโอไมครอน มีอะไรบ้าง ป้องกันอย่างไร ในตอนนี้การแพร่ระบาดที่น่ากลัวที่สุดคงหนีไม่พ้น การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่สถานการณ์ ณ ปัจจุบัน ความรุนแรงและการกลายพันธุ์เริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกวัน โดยก่อนหน้านี้เชื้อโควิดได้มีสายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์จะมีอาการ ระยะการแพร่เชื้อ และความรุนแรงที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งก่อนหน้านี้โควิดสายพันธุ์เดลต้าเป็นสายพันธุ์ที่ขึ้นชื่อได้รุนแรงที่สุด และเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากที่สุด แต่ในปัจจุบันกลับไม่ใช่ เพราะในตอนนี้ได้เกิดการกลายพันธุ์สายพันธุ์ล่าสุดจากแอฟริกาใต้ ‘โอไมครอน’ ที่ทางองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้มีการประกาศยกระดับให้เป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวล (Variants of Concern: VOC) สายพันธุ์ใหม่ล่าสุด สิ่งที่น่ากังวลของโอมิครอน คืออะไร? โอมิครอน (Omicron) มีรหัสเรียกว่า โควิดสายพันธุ์ ​B.1.1.529 ถูกรายงานว่าพบครั้งแรกในตอนใต้ของทวีปแอฟริกาใต้ ประเทศบอตสวานา ปัจจุบันพบว่ามีการแพร่ระบาดแล้วในหลายประเทศทั่วโลก (รวมถึงในเอเชียและประเทศไทย) การกลายพันธุ์โควิดสายพันธุ์นี้ มีการกลายพันธุ์ของยีนมากถึง 50 กว่าตำแหน่ง โดย 32 ตำแหน่งที่เกิดขึ้นบนโปรตีนหนามแหลม ที่เป็นโปรตีนไวรัสที่ใช้ในการเข้าสู่เซลล์ร่างกายของมนุษย์ พบมากกว่าในทุกสายพันธุ์ที่เคยมีการระบาดมา และที่น่าห่วงคือมากกว่าสายพันธุ์เดลต้าถึง 2 ตัว ดังนั้นโอไมครอนจึงมีความรุนแรงและความน่ากังวลContinue Reading

เดี๋ยวโรคภัยไข้เจ็บมีอยู่รอบตัวอะไรเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็นำพาไปสู่การเจ็บป่วยที่รุนแรงได้เสมอ โดยอาการเจ็บป่วยส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นมาจากกิจวัตรประจำวัน กรรมพันธุ์ และอาหารการกินซะเป็นส่วนใหญ่ อย่างวันนี้ที่เราจะนำเสนอนั่นคือ ‘ลำไส้อักเสบ’ ที่หลาย ๆ คนมักเข้าใจผิดว่าเป็นเพียงแค่อาการท้องเสียธรรมดา แต่แท้จริงแล้วไม่ใช่ เพราะมันมีความอันตรายมากกว่า ลำไส้อักเสบ คืออะไร? โรคลำไส้อักเสบ (Ulcerative Colitis) คือโรคที่มีอาการอักเสบของระบบทางเดินทางอาหารชนิดหนึ่ง ที่เกิดการอักเสบบริเวณเยื่อบุผนังตรงลำไส้ใหญ่ ส่งผลให้เกิดแผลที่ผนังทางเดินอาหาร โดยอาการอักเสบที่เกิดขึ้นจะทำให้เลือดออกที่ผนังลำไส้ ลำไส้บีบตัวเร็วขึ้น ผู้ป่วยจึงเกิดอาการปวดท้อง ท้องร่วง ถ่ายปนมูกเลือดออกมานั่นเอง ซึ่งทางการแพทย์ยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรคลำไส้อักเสบ แต่สาเหตุที่มีความเป็นไปได้อาจเกิดมาจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานผิดปกติ เพราะปกติแล้วระบบภูมิคุ้มกันจะทำหน้าที่ในการปกป้องและจำกัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกายอย่างเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย แต่เมื่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานผิดปกติก็ทำให้เชื้อโรคเข้าไปได้ง่ายขึ้น แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยมีระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติเป็นระยะเวลานาน ๆ ก็อาจทำให้เกิดอาการลำไส้อักเสบเรื้อรังได้ และอีกหนึ่งต้นเหตุคืออาการมื้อสุดท้ายก่อนที่จะเกิดอาการ แต่ทั้งนี้ก็ไม่เสมอไป เพราะต้องขึ้นอยู่กับระยะเวลาตั้งแต่รับเชื้อจนถึงแสดงอาการ เรียกอีกอย่างว่าระยะฟักตัว ซึ่งเป็นในลักษณะของโรคติดเชื้อ อาจเป็นระยะเวลาไม่นานจนถึงหลายวัน (อาการแต่ละคนแสดงออกช้าเร็วไม่เหมือนกัน) อาการลำไส้อักเสบ  อาการแรก ๆ ของลำไส้อักเสบที่พบได้บ่อย คือ เกิดอาการท้องเสียหรือท้องร่วงร่วมกับปวดท้อง โดยอาการปวดท้องนั้นจะมีลักษณะปวดบีบ ๆContinue Reading