ไข้หวัด – ไข้หวัดใหญ่ อาการใกล้เคียง แต่มีเส้นบางๆกั้น

ไข้หวัดใหญ่อย่าชะล่าใจ บางทีอาจมีโรคแทรกซ้อนร่วมด้วย

ในตอนนี้แม้ว่าโรคติดเชื้อที่ดูน่าเป็นกังวลมากที่สุด คือสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่ถึงอย่างไรโรคไข้หวัดอื่น ๆ เราก็ไม่ควรมองข้ามเหมือนกัน เพราะความรุนแรงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพร่างกาย ก็มีผลเสียที่ร้ายแรงไม่แพ้กันเลย

ซึ่งหนึ่งในโรคติดเชื้อที่เกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปีทั่วโลก ผ่านการแพร่กระจายจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งที่นอกเหนือจากโควิด-19 นั่นคือ ‘ไข้หวัดใหญ่’ ที่หากไม่สังเกตอาการดี ๆ หลายคนก็มักเข้าใจผิดว่านี่เป็นอาการของไข้หวัดธรรมดา เพียงแค่กินยาและนอนพักผ่อนก็คงหายดีแล้ว แต่ทว่าไข้หวัดใหญ่กลับไม่เป็นเช่นนั้น เพราะไข้หวัดใหญ่จะมีวิธีการรักษาและความรุนแรงของโรคที่ต่างจากไข้หวัดธรรมดาให้เห็นอยู่

ไข้หวัดใหญ่ พบได้ในคนวัยไหนมากที่สุด?

สำหรับไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคติดต่อที่สามารถแพร่กระจายจากบุคคลหนึ่งไปยังคนหนึ่งได้ สามารถพบได้ในคนทุกอายุ แต่ส่วนใหญ่มักพบในเด็ก แต่อัตราการเสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่จะอยู่ในกลุ่มป่วยที่มีอายุมากกว่า 65 ปี หรือกลุ่มคนที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคไต เป็นต้น สำหรับแนวทางการป้องกันไข้หวัดใหญ่ที่ดีที่สุด นั่นคือการฉีดวัคซีนป้องกัน ที่พบว่าสามารถลดอัตราการติดเชื้อ ลดอัตราการนอนโรงพยาบาล และลดอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนได้

ซึ่งโรคแทรกซ้อนอาจเกิดขึ้นกับกลุ่มคนที่ป่วยไข้หวัดใหญ่ จะมีทั้ง ปอดอักเสบ และอาจทำให้อาการของโรคประจำตัวที่มีอยู่รุนแรงมากกว่าเดิม เช่น หัวล้มเหลว เบาหวาน โดยในประเทศไทยจะพบว่ามีผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ทั่วประเทศ มากถึงปีละ 700,000 – 900,000 คน (ไม่รวมผู้ป่วยโควิด-19) และส่วนใหญ่มีแนวโน้มว่าผู้คนจะป่วยด้วยโรคนี้ในช่วงฤดูฝน

ไข้หวัดใหญ่ พบได้ในคนวัยไหนมากที่สุด?
ไข้หวัดใหญ่ พบได้ในคนวัยไหนมากที่สุด?

อาการของไข้หวัดใหญ่ต่างจากไข้หวัดธรรมดายังไง?

ไข้หวัดธรรมดา จะมีเพียงอาการไข้ มีน้ำมูก ปวดศีรษะ ปวดตามข้อ ในระดับที่รับได้ กินยาและพักผ่อนเพียงแค่ 1 – 2 วันก็สามารถหายเป็นปกได้ แต่สำหรับอาการไข้หวัดใหญ่ กลับมีมากกว่านั้น โดยจะมีระยะฟักตัวประมาณ 1 – 4 วัน แต่โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 2 วัน มีอาการดังนี้

  1. มีอาการอ่อนเพลียอย่างเฉียบพลัน
  2. เบื่ออาหาร คลื่นไส้
  3. ปวดศีรษะอย่างรุนแรง
  4. ปวดตามแขน ขา ปวดข้อ ปวดรอบตา ปวดเมื่อยตามตัว
  5. ไข้สูง 39 – 40 องศา
  6. เจ็บคอ และคอแดง มีน้ำมูกใส ๆ ไหล
  7. ไอแห้ง ตามตัวจะรู้สึกร้อน แดง หรืออาจมีอาการตาแดงร่วมด้วย
  8. อาเจียน หรือท้องเดิน
  9. เป็นไข้นาน 2 – 4 วัน แล้วจะค่อย ๆ ลดลง แต่อาการคัดจมูกและแสบคอยังคงอยู่ โดยทั่วไปจะหายไปได้ใน 1 สัปดาห์

แต่ทั้ง 9 ข้อเป็นเพียงอาการไข้หวัดใหญ่แบบเบื้องต้นที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับโรคแทรกซ้อน เพราะในรายที่มีอาการรุนแรง มักจะเกิดขึ้นกับคนที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังอยู่ก่อนแล้ว และจะเกิดเป็นโรคแทรกซ้อนทำให้ความรุนแรงและความเสี่ยงมีเพิ่มมากขึ้น เช่น

  1. ระบบประสาท พบว่าเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ผู้ป่วยจะมีอาการซึม และปวดศีรษะมากผิดปกติ
  2. ระบบหายใจ หลอดลมอักเสบ ปอดบวม ผู้ป่วยจะรู้สึกแน่นหน้าอก เหนื่อยหอบ และหายใจลำบาก
  3. เยื่อหุ้มหัวใจ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอก เหนื่อย หอบ และอาจถึงขั้นหัวใจวายได้
  4. โดยทั่วไปผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่จะหายได้ในไม่กี่วัน แต่หากมีอาการแทรกซ้อน มีอาการไอและปวดตัวนานเกิน 2 สัปดาห์ ก็อาจเสี่ยงถึงขั้นเสียชีวิตจากอาการปวดบวมและโรคหัวใจ

สำหรับวิธีการป้องกันไข้หวัดใหญ่ที่ดีที่สุด คือการล้างมือบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงการเอามือเข้าปากหรือขยี้ตา ไม่ใช้ของร่วมกันกับผู้อื่น หลีกเลี่ยงการสัมผัสกันอย่างใกล้ชิด หรือหากมีความผิดปกติ เช่น ตัวร้อน เจ็บคอ ไอ หรือจาม แนะนำให้พักอยู่ที่บ้านเล่นสล๊อตเว็บตรงไม่ผ่านเอเย่นจะดีกว่า เพราะบางทีคุณอาจไม่ได้ป่วยไข้หวัด หรือไข้หวัดใหญ่ คุณอาจกำลังป่วยเป็นโควิด-19 ได้ ดังนั้นเซฟตัวเองแล้วก็อย่าลืมเซฟคนอื่น ๆ ด้วย

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *