‘ความอ้วน’ ไม่ได้ทำลายแค่บุคลิกภาพและความมั่นใจเท่านั้น แต่ยังเป็นตัวการสำคัญที่เป็นช่องโหว่ให้โรคร้ายเดินทางเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้นด้วย นั่นเลยทำให้หลายคนตั้งคำถามว่าการที่เป็นคนอ้วน น้ำหนักเกินเกณฑ์ หรือเป็นโรคอ้วนมีความเสี่ยงต่อโควิด-19 เป็นความจริงหรือไม่? หากสงสัยวันนี้มีคำตอบมาฝาก
ภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์ คืออะไร?
สำหรับคำว่า ‘ภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์’ เป็นภาวะที่น้ำหนักตัวเกินกว่าค่ากำหนด เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับความสูง (อ้างอิง ประชาชาติธุรกิจ) โดยใช้หลักการคำนวณที่เรียกว่าดัชนีมวลกาย (Body mass index ; BMI) เป็นการเอาน้ำหนักปัจจุบันที่มีหน่วยเป็นกิโลกรัม หารกับความสูงที่มีหน่วยเป็นเมตร จากนั้นยกกำลังสอง หากค่าสรุปออกมา BMI ตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไปจึงจะถือว่าเป็นภาวะน้ำหนักเกิน (obesity)
ภาวะน้ำหนักเกินกับความเสี่ยงโควิด-19
สำหรับคนที่มีภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์กับความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 เรื่องนี้เป็นความจริง! ประเด็นนี้อ้างอิงมาจาก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งความอ้วนเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 ที่รุนแรงได้ และอาจทำให้อัตราการนอนโรงพยาบาลมากขึ้นถึง 3 เท่า สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะร่างกายมีระดับภูมิคุ้มกันที่ลดลงหรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ แถมความอ้วนยังเป็นตัวการที่ลดความจุของปอด ส่งผลให้การหายใจเข้าออกมีประสิทธิภาพลดลง

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบว่าค่า BMI ที่เพิ่มขึ้น ยังส่งผลทำให้อัตราการเสียชีวิต การใส่ท่อช่วยหายใจ การนอนโรงพยาบาลจากอาการป่วยโควิด-19 มากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่มีอายุน้อยกว่า 65 ปี ซึ่งเรื่องนี้ในประเทศสหรัฐอเมริกามีการศึกษาพบว่ามีผู้ป่วยกว่า 900,000 ราย ที่นอนในโรงพยาบาลด้วยการโควิด-19 ผ่านการใช้โมเดลทางคณิตศาสตร์วัด ว่าปัจจัยที่สำคัญถึงร้อยละ 30 ของการนอนโรงพยาบาลคือคนอ้วนที่ป่วยเป็นโควิด ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า! ความอ้วนมีความเสี่ยงต่อการติดโควิดจริง ๆ
คนอ้วนป่วยโควิด เสี่ยงปัญหาโรคแทรกซ้อน!
นอกจากนี้คนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มักมีปัญหาสุขภาพเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว หากมีการติดเชื้อโควิด-19 ก็ย่อมมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อน หรือมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าคนที่ป่วยแต่น้ำหนักตามเกณฑ์ โดยเรื่องนี้อ้างอิงจาก กรุงเทพธุรกิจ ว่า คนอ้วนป่วยโควิดมักมีปัญหาโรคแทรกซ้อนในระบบทางเดินหายใจ ทำให้มีอาการรุนแรงขึ้นและอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ซึ่งหากย้อนดูข้อมูลผู้เสียชีวิตด้วยโรคโควิด-19 ในประเทศไทย พบว่าผู้ป่วยโรคอ้วนเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดอัตราการเสียชีวิตได้ ดังนั้นทางที่ดีที่สุดในตอนนี้คือต้องมีการปรับเปลี่ยนด้านโภชนาการ รับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีแคลอรี่ตำ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ลดความเครียด และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อเป็นการลดน้ำหนักและลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิดที่อาจส่งผลอันตรายถึงชีวิต
ลดความอ้วนด้วยนวัตกรรมทางการแพทย์ ดีหรือไม่?
ปัจจุบันทางการแพทย์มีนวัตกรรมการลดน้ำหนักเกิดขึ้นมากมาย มีส่วนช่วยในการเร่งการเผาผลาญ ลดน้ำหนัก และกระชับสัดส่วน โดยตัวอย่างนวัตกรรมลดน้ำหนักที่น่าสนใจ มีดังนี้
- Meso Fat : ฉีดวิตามินเพื่อกระชับสัดส่วนที่ต้องการ ส่วนใหญ่คนจะนิยมฉีดตรงบริเวณที่มีไขมันหนาและลดได้ยาก เช่น แก้ม เหนียง หน้าท้อง ต้นแขน ฯลฯ วิตามินดังกล่าวจะเข้าไปยับยั้งการเจริญเติบโตของไขมัน เห็นผลไว แถมช่วยในเรื่องของการกระชับสัดส่วนด้วย
- ปากกาลดน้ำหนัก : เรียกอีกอย่าง Diet Pen ตัวช่วยในการควบคุมความหิว ลดความอยากอาหาร และลดการกินจุกจิกระหว่างวัน โดยในปากกาจะมีสารที่ทำหน้าที่ฮอร์โมนความอิ่มในร่างกายมนุษย์ เมื่อฉีดเข้าไปแล้วร่างกายจะตอบสนอง ควบคุมความหิว อิ่มนาน และลดความอยากอาหารได้ดี
- ลดสัดส่วนด้วยเครื่อง INDIBA : เป็นนวัตกรรมลดไขมันถึงระดับเซลล์ ผ่านการทำงานของคลื่นวิทยุด้วยความถี่ที่ปลอดภัย ช่วยกระตุ้นไขมันและสลายไขมันที่เกาะตัวหนาใต้ชั้นผิวหนัง กระชับสัดส่วน ใช้เวลารักษาไม่นาน ปลอดภัย ไม่ใช่การผ่าตัด ไม่ต้องพักฟื้น อ้างอิง indiba.com
โดยตัวอย่างนวัตกรรมทางการแพทย์สำหรับการลดน้ำหนักข้างต้น เป็นเพียงตัวช่วยที่ช่วยกระตุ้นการเผาผลาญ และช่วยในการกระชับสัดส่วนเท่านั้น แต่ถึงอย่างไรหากต้องการลดน้ำหนักเร่งด่วน จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน การใช้ชีวิต และการพักผ่อน เพื่อให้ร่างกายได้เกิดการปรับตัวและให้ผลลัพธ์การลดน้ำหนักเป็นไปตามความต้องการ
ขอบคุณข้อมูลจาก : Promotions.co.th